สมบัติของชาติ / ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญ (อาคาร)ปราสาทฟุคุยามะ

วันที่ลงทะเบียน:1933.01.23

หอคอยปราสาทสร้างใหม่ในปี 1966: จัดหาให้โดยพิพิธภัณฑ์ปราสาทฟุคุยามะ

ปราสาทฟุคุยามะติดกับสถานีชินคันเซ็นฟุคุยามะ: ให้บริการโดยพิพิธภัณฑ์ปราสาทฟุคุยามะ

งานซ่อมแซมขนาดใหญ่ดำเนินการในวันครบรอบ 400 ปีของการก่อสร้างปราสาทในปี 2022

หอคอยปราสาทก่อนถูกทำลายโดยการโจมตีทางอากาศ ชั้นที่ 1 ถึงชั้น 4 ทางด้านทิศเหนือปูด้วยแผ่นเหล็กสีดำ

เมื่อสร้างปราสาทฟุกุยามะ ปราสาทที่อยู่ในปราสาทฟุชิมิในเกียวโตก็ถูกย้ายไปที่อื่น

จารึกที่ระบุว่าอยู่ในปราสาทฟุชิมิ: ให้บริการโดยพิพิธภัณฑ์ปราสาทฟุคุยามะ

ประตูเหล็กของกล้ามเนื้อมองจาก

อาคารหลักสไตล์ญี่ปุ่นของ Fukuju Kaikan สร้างเป็นวิลล่าเศรษฐีในสมัยโชวะตอนต้น

หน้าต่างจำลองและการตกแต่งเสาสไตล์เวนิสที่น่าประทับใจ

คาเฟ่ขนมหวาน "Maison Ambe" เปิดให้บริการที่ชั้น 1 ของอาคารสไตล์ตะวันตก

ความคิดเห็น

ความคิดเห็น

อุทยานปราสาทฟุกุยามะเป็นสถานที่พักผ่อนสำหรับชาวเมือง โดยเน้นที่ร่องรอยแสดฟันะมะ ไฮไลท์อยู่ที่ "" ที่ย้ายจากปราสาทฟุชิมิในเกียวโต ที่ซึ่งโชกุนที่เปิดโชกุนเอโดะก็อาศัยอยู่ด้วย ปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับการป้องกันของญี่ปุ่นตะวันตกเมื่อขุนนางศักดินาคนแรกย้ายเข้ามาในพื้นที่ นอกจากความจริงที่ว่าปราสาทถูกสร้างขึ้นแล้ว ยังมีการยืมทองและเงินจำนวนมาก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นอย่างลึกซึ้งในคัตสึนาริแห่งโชกุน

open

ความเห็น

①หอสังเกตการณ์ฟุชิมิยะงุระ ปราสาทฟุคุยามะ

หอสังเกตการณ์ฟุชิมิยะงุระ ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นสมบัติอันทรงคุณค่าทางด้านวัฒนธรรมของชาติ ตัวปราสาทถูกทิ้งร้างก่อนที่จะมีการเริ่มก่อสร้างเป็นปราสาทฟุคุยามะใหม่ในปี ค.ศ. 1619 โดยย้ายมาจากปราสาทฟูชิมิของเกียวโต ซึ่งปราสาทฟูชิมินั้นเป็นที่พักอาศัยของโทกุงาวะ อิเอะยะสุ โชกุนผู้ก่อตั้งรัฐบาลทหารหรือบาคุฝุแห่งเมืองเอโดะนั่นเอง
แต่เดิมหอสังเกตการณ์ยะงุระเป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อใช้สังเกตการณ์หรือป้องกันปราสาท ทั้งนี้ได้มีการนำมาใช้เป็นคลังเก็บของใช้ในชีวิตประจำวันหรืออาวุธยุทโธปกรณ์อีกด้วย หอสังเกตการณ์ฟุชิมิยะงุระเป็นหอคอยขนาดใหญ่หนา 3 ชั้นและมี 3 ชั้น ถือเป็นอาคารที่เทียบเท่ากับป้อมปราการของปราสาทอื่นเลยก็ว่าได้
แม้อาคารส่วนมากภายในปราสาทโดยเริ่มจากป้อมปราการจะถูกเผาทำลายทิ้งจากการโจมตีทางอากาศในช่วงปี ค.ศ. 1945 ซึ่งเป็นช่วงปลายสงครามแปซิฟิกก็จริง แต่ทว่าหอสังเกตการณ์นี้กลับรอดพ้นมาได้พร้อมกับประตูทางเข้าหลักที่เรียกกันว่าซุจิงะเนะโกะมง ในปี ค.ศ. 1954 ได้มีการบูรณะซ่อมแซมซึ่งในตอนนั้นได้มีการค้นพบประติมากรรมแกะสลักที่เรียกว่า "มะซึโนะมะรุโนะ ฮิงะชิยะคุระ” ตั้งอยู่บนคานชั้นที่สองซึ่งต่อมาได้ใช้เป็นหลักฐานพิสูจน์ว่ามีการเคลื่อนย้ายมาจากปราสาทฟุชิมิจริง แม้จะมีหลายอาคารที่เชื่อกันว่าได้มีการเคลื่อนย้ายมาจากปราสาทฟุชิมิทั่วประเทศญี่ปุ่น แต่ทว่ากลับไม่มีหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้แน่ชัดเช่นหอสังเกตการณ์นี้
ว่ากันว่าปีที่เริ่มก่อสร้างก่อนที่จะมีการเคลื่อนย้ายอยู่ในช่วงราวปี ค.ศ. 1598 จนถึงปี ค.ศ. 1602 จึงถือเป็นหอที่มีความเก่าแก่และความคลาสสิกมากที่สุดในบรรดาหอคอยสามชั้นของประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบัน

②ประตูทางเข้าหลักซุจิงะเนะโกะมง ปราสาทฟุคุยะมะ

ประตูทางเข้าหลักซุจิงะเนะโกะมง ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นสมบัติอันทรงคุณค่าทางด้านวัฒนธรรมของชาตินี้เป็นประตูหน้าของอาคารหลักฮงมารุที่อยู่ภายในปราสาทฟุคุยะมะ กล่าวกันว่าได้ถูกเคลื่อนย้ายมาจากปราสาทฟุชิมิของเกียวโตพร้อมกับหอสังเกตการณ์ฟุชิมิยะงุระ ซึ่งเป็นสมบัติอันทรงคุณค่าทางด้านวัฒนธรรมที่อยู่ติดกันในตอนที่มีการก่อสร้างปราสาทฟุคุยะมะเมื่อปี ค.ศ. 1620 จนถึง ปี ค.ศ. 1622 แต่ทว่ากลับไม่พบหลักฐานที่ยืนยันแน่ชัดว่าได้มีการเคลื่อนย้ายจริงซึ่งแตกต่างจากหอสังเกตการณ์ฟุชิมิยะงุระ
มีการวางชั้นหินคั่นระหว่างประตู และมีซุ้มประตูของหอสังเกตการณ์ตั้งอยู่บนชั้น 2 ราวกับว่าหอดังกล่าวนั้นยืนคร่อมอยู่ ซุ้มประตูของหอสังเกตการณ์มีความแข็งแรงทนทานจึงสามารถป้องกันการโจมตีด้วยอาวุธปืนจากทางด้านบนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีการติดตั้งแผ่นเหล็กไว้ที่ประตูเพื่อเพิ่มความสามารถในการป้องกันให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งในเวลาต่อมาแผ่นเหล็กนี้เองได้กลายมาเป็นที่มาของการตั้งชื่ออีกด้วย
ผนังสร้างจากวัสดุไม้แบนราบที่สามารถทำการตกแต่งได้ในรูปแบบของนะเงะชิงะตะ ได้รับการเคลือบด้วยปูนแบบชิโระชิคคุอิโซะอุนุริโกะเมะซึ่งเป็นสารทนไฟทั้งหมด ทำให้การออกแบบมีความคล้ายคลึงกันกับหอสังเกตการณ์ฟุชิมิเป็นอย่างมาก
สำหรับรูปแบบของวางคาน เสาและการผูกเชือกในส่วนของชั้นที่ 2 นั้น มีร่องรอยว่ามีการใช้วัสดุที่เคยใช้สร้างอาคารอื่นมาแล้วเป็นจำนวนมาก โดยมีความคิดเห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีการนำวัสดุที่เคยมีการงานในปราสาทโทโมะโจหรือปราสาทคังนาเบะโจซึ่งอยู่ติดกันมาใช้ซ้ำ

③ร่องรอยปราสาทฟุคุยะมะ

ปราสาทฟุคุยะมะเป็นปราสาทที่สร้างขึ้นเพื่อปกป้องญี่ปุ่นทางทิศตะวันตกสมัยที่คะซึนาริ ขุนนางผู้ดูแลอาณาเขตของฟุคุยามะเข้ารับตำแหน่ง โดยใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างตั้งแต่ปี ค.ศ. 1620จนถึงปี ค.ศ. 1622
มิซุโนะ คาซึชิเงะ เป็นลูกชายคนโตของทาดะชิเงะซึ่งเป็นน้องชายโอได แม่ของโทกูงาวะ อิเอะยะสุ โชกุนผู้ก่อตั้งรัฐบาลทหารหรือบาคุฝุแห่งเมืองเอโดะ แม้ว่าจะเคยออกรบในฐานะของแม่ทัพก็ตามแต่เป็นคนที่หยาบกระด้างและชอบทำลายศัตรูที่อยู่ตรงหน้า มีบทบาทสำคัญในการช่วยป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดการจลาจลในภาคตะวันตกของญี่ปุ่นซึ่งในขณะนั้นมีลูกน้องภายใต้บังคับบัญชาของตระกูลโทโยโทมิเป็นจำนวนมากที่ตั้งตนเป็นศัตรูกับตระกูลโทกูงาวะ
หอคอยปราสาท มีความแตกต่างด้านขนาดระหว่างชั้นที่ 1 และชั้นที่ 5 ถือเป็นหอคอยที่มีขนาดมากเล็กที่สุดในประวัติศาสตร์การก่อสร้างปราสาททั้งหมด ด้วยเทคนิคการก่อสร้างในยุคสมัยนั้นทำให้มีการสร้างชั้นบนสุดให้ใหญ่ที่สุดเพื่อให้เห็นได้เด่นชัดในตอนที่มองหาจากระยะไกล พร้อมกับสร้างชั้นที่ 1 ให้เล็กที่สุดเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการก่อสร้าง
อาคารสิ่งปลูกสร้างส่วนใหญ่โดยเริ่มจากหอคอยปราสาทที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นสมบัติชาติถูกเผาทำลายจากการโจมตีทางอากาศในช่วงปี ค.ศ. 1945 (ช่วงปลายสงครามแปซิฟิก) จึงต้องมีการสร้างหอคอย, โรงอาบน้ำโอยุโดะโนะ, หอคอยซึคิมิ และหอคอยคางามิ ขึ้นมาใหม่อีกครั้งในช่วงปี ค.ศ. 1966 จนถึง ค.ศ. 1973 ซึ่งต่อมาได้ใช้เป็นพิพิธภัณฑ์ในการถ่ายทอดประวัติศาสตร์ของเมืองฟุคุยะมะจนถึงปัจจุบัน

④อาคารพิพิธภัณฑ์ฟุคุจุไคคัน เมืองฟุคุยะมะชิ

อาคารพิพิธภัณฑ์ฟุคุจุไคคัน ซึ่งเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของชาตินั้นได้รับการก่อสร้างขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1935 จนถึงปี ค.ศ. 1937 โดยคุณอันเบะ วะสุเคะ เพื่อใช้เป็นบ้านพักตากอากาศ คุณอันเบะเป็นบุคคลผู้สร้างความมั่งคั่งร่ำรวยด้วยการพัฒนาสินค้าแปรรูปและปลาแห้งที่ใช้ทำซุปดะชิ โดยมีอีกชื่อหนึ่งว่า "ราชาแห่งคะซุโอะบุชิ" ก่อนหน้านั้นได้มีการก่อสร้างโกดังสำหรับเก็บข้าวของปราสาทฟุคุยะมะไว้ใกล้กับสถานที่ดังกล่าวอีกด้วย
อาคารสองชั้นสไตล์ตะวันตกได้รับการก่อสร้างเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากอาคารหลักและโรงน้ำชาที่เป็นสถาปัตยกรรมแบบญี่ปุ่น ภายในอาคารสไตล์ตะวันตกนี้มีการประดับตกแต่งเสาหรือหน้าต่างเลียนแบบเวนิสเรเนอซองต์ ซึ่งเป็นจุดเด่นของสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในช่วงแรกของยุคสมัยเมจิ
หลังสงครามโลกครั้งที่สองได้ถูกถือครองโดย GHQ แต่ทว่าคุณโนโบรุ ชิบูย่า นักธุรกิจชาวเมืองฟุคุยะมะ ได้ทำการซื้อคืนกลับมาและอุทิศมอบให้กับชาวเมืองเพื่อใช้ประโยชน์เป็นสำนักงาน อาคารรับรอง สถานที่จัดงานแต่งงาน สถานที่จัดเลี้ยง ฯลฯ ปัจจุบันอาคารสถาปัตยกรรมแบบญี่ปุ่นนี้ได้ถูกนำมาใช้จัดแสดงอุปกรณ์ชงชา กิโมโน เครื่องดนตรีของญี่ปุ่น พิธีชงชา ฯลฯ
นอกจากนี้ชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ของอาคารสไตล์แบบตะวันตกได้ถูกนำมาใช้เป็นร้านคาเฟ่และห้องประชุมสัมมนาให้เช่าตามลำดับ ถือเป็นสถานที่ที่เป็นที่รู้จักกันในฐานะของสถานที่พักผ่อนหย่อนใจโดยการชมสวน

คุณอ่านความคิดเห็นและเข้าใจเนื้อหาหรือไม่?

ข้อมูลทรัพย์สินทางวัฒนธรรม

【เวลา】

พิพิธภัณฑ์ปราสาทฟุคุยามะ: 06:00 น.-22:00 น.

【วันหยุดประจำ】

วันจันทร์ (หากเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์จะหยุดวันถัดไป) 28 ธันวาคม - 31 ธันวาคม สิ้นปี * จนถึงประมาณต้นเดือนสิงหาคม 2022 พิพิธภัณฑ์ปิดให้บริการเป็นเวลานานเนื่องจากการต่ออายุและการติดตั้งเพิ่มเติมจากแผ่นดินไหว

【ราคา】

ค่าเข้าชมหลังเปิดใหม่ยังไม่กำหนด

【ลิงค์ภายนอก】

https://fukuyama400.jp/

กลับไปที่รายการทรัพย์สินทางวัฒนธรรมของ เมืองฟุคุยามะ จังหวัดฮิโรชิม่า